-PATUMKOKGKA SAMUTPRAKRAN-
WILAIPORN PITAKSA
ว33103 เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ6
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ6
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย



การนำเสนอข้อมูล คือ การนำข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาจัด ให้เป็นระเบียบ และสามารถอ่านรายละเอียดหรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริงของข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
การแบ่งปันข้อมูล คือ การนำความรู้ ข้อมูล หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์จริงหรือการค้นคว้ามาบอกต่อไปยังผู้อื่น
สื่อสังคมออนไลน์ คือ รูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้สำหรับเขียนอธิบายความสนใจ โดยเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น
บล็อก (Blog) คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่เนื้อหาต่าง ๆ ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยเนื้อหาสามารถเป็นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ หรือวีดีโอ ซึ่งหลังจากได้เผยแพร่แล้วผู้ใช้งานอื่นสามารถแสดงความคิดเห็นกับเนื้อหานี้ได้
การสตรีมมิง (Streaming) เป็นการรับ-ส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการไปยังผู้รับอย่างต่อเนื่องผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยผู้รับจะดาวน์โหลดและนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะของคู่ขนาน
อินโฟกราฟิก (infographics) หรือ อินฟอร์เมชันกราฟิก (Information graphics) เป็นการแสดงผลของข้อมูลหรือความรู้ โดยภาพที่ผู้อ่านได้ศึกษาและเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น งานกราฟิกประเภทนี้นิยมใช้สำหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อน เช่น ป้าย แผนที่ งานวิจัย โดยอินโฟกราฟิกนี้ยังคงนิยมใช้ในสายงานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
การคำนึงถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่ข้อมูล คือ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบันมีการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ประกอบการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องมีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
การตรวจสอบข้อมูลก่อนเผยแพร่ คือ การเผยแพร่งานรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตจึงป็นความรับผิดชอบของผู้บริโภคเองส่วนหนึ่ง โดยต้องใช้วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข่าวสาร ถึงแม้ว่าหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจะออกมาแก้ไข ดำเนินการวางกฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ยังเป็นเรื่องที่ยากที่จะควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer crime) คือ การกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหายและผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
จริยธรรม คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย
จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกกันว่า กฎหมายไอที (Information Law) มีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ กทสช. (NITC) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
งานที่มีลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขาวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่ เสียงแพร่ภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ
กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็นใดจะต้องพึงระวังให้การแสดงความคิกเห็นเป็นไปโดยชอบธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
บล็อก (Blog) เป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่เนื้อหาต่าง ๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาสามารถเป็นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ หรือวีดีโอ ซึ่งหลังจากได้เผยแพร่แล้วใช้งานอื่นสามารถแสดงความคิดเห็นกับเนื้อหาได้ ซึ่งการเขียนบล็อกอย่างปลอดภัยได้นั้น ต้องครอบคลุมตั้งแต่การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลสารสานเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการนำเสนอ การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย จริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยี (Techonology) คือ วิทยาการที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม สารสนเทศ (Information) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูล มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารจากข้อมูลบนเครือข่ายและไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับระบบสารสนเทศ โดยต้องประยุกต์ใช้ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลเพื่อแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศรวมถึงการเผยแพร่สารสนเทศเพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นวิทยาการที่ใช้เทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์มาแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ รู้จักการใช้เหตุผลการเรียนรู้การสร้างหุ่นยนต์ การนำเครื่องจักรหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตรถยนต์ ช่วยให้ผลิตรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หุ่นยนต์หรือโรบอต (Robot) คือ เครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างที่ แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) คำว่า Augmented แปลว่า เพิ่มหรือเติม ส่วน Reality แปลว่า ความจริง ซึ่งเมื่อนำมารวมกัน คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนการมากที่สุดจนแยกไม่ออก เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดล 3 มิติ ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพถ่ายมาจาก กล้องวีดีโอ
อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นสายงานที่สำคัญและกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และยังเป็นอาชีพที่มีความสำคัญในอนาคต เนื่องจากโลกอยู่ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม มนุษย์จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีต่อการดำเนินชีวิต คือ การที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มตื่นนอนในตอนเช้า การทำกิจกรรมส่วนตัวทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษา ตลอดจนการทำธุรกรรมต่างๆ จนถึงการเข้านอนในตอนกลางคืน
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีต่ออาชีพ คือ ทุกสาขาอาชีพล้วนแล้วแต่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับการทำงานในยุคปัจจุบันและมีผลกระทบกับอาชีพต่าง ๆ
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม คือ โดยปกติมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสังคม ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงสามารถส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ได้เช่นกัน เช่น การบริหารจัดการที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้งานออกมาสะดวกรวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำสูง
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อวัฒนธรรม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยลดช่องว่างหรือข้อจำกัดทางด้านระยะทาง ทำให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกขึ้น ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงสามารถส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมไทยได้เช่นกัน
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีต่ออาชีพ คือ ทุกสาขาอาชีพล้วนแล้วแต่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาตลอดเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับการทำงานในยุคปัจจุบันและมีผลกระทบกับอาชีพต่าง ๆ